บทความรู้เกี่ยวกับ Joomla
Joomla คืออะไร ?
Joomla คือระบบที่ช่วยในการจัดการเนื้อหา(Content Management System: CMS) บนเว็บไซต์ เพื่อช่วยในการอำนวยความ
สะดวกลดขั้นตอน และความยุ่งยากในการบริหารจัดการเว็บไซต์ โดยที่ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรม
หรือออกแบบเว็บไซต์ ก็สามารถจัดทำเว็บไซต์ด้วยตัวเองได้
ก่อนจะมาเป็นจุมล่าในปัจจุบัน
Mambo หรือชื่อเดิม Mambo Open Source (MOS) เป็นระบบจัดการเนื้อหาเว็บ (Content Management System) แบบ
โอเพนซอร์สที่มีผู้ใช้จำนวนมาก Mambo เคยชนะการประกวดซอฟต์แวร์ของนิตยสาร Linux Format ในปี 2004 และ
LinuxWorld เมื่อปี 2005 Mambo เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถมากมาย เช่น ปฏิทิน, RSS, เว็บล็อก ปัจจุบันมีกลุ่มนักพัฒนา
จำนวนมากสร้างโปรแกรมเสริมให้กับ Mambo การติดตั้ง Mambo จำเป็นต้องใช้ Apache HTTP Server, MySQL และ PHP เดิม
Mambo พัฒนาโดยบริษัท Miro Corporation ประเทศออสเตรเลีย แต่ภายหลัง Miro ได้ตั้ง Mambo Foundation ขึ้นมารับ
หน้าที่แทน ใช้สัญญาอนุญาตการใช้งานแบบ GPL หลังจากการเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนามาอยู่ใต้ Mambo Foundation
นักพัฒนาเดิมส่วนหนึ่งได้แยกไปตั้งโครงการใหม่ชื่อว่า Joomla
จูมลา! (Joomla!) เป็นระบบจัดการเนื้อหาเว็บแบบโอเพนซอร์ส ที่เขียนด้วยภาษาพีเอชพีและใช้ฐานข้อมูล MySQL
เวอร์ชัน 1.0 ออกเมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2005
ทีมงาน พัฒนาจูมลา! แยกตัวออกมาจากการพัฒนา Mambo ซึ่งเป็นระบบจัดการเนื้อหาเว็บที่ได้รับความนิยมอีกตัวหนึ่ง
เนื่องจากมีความคิดเห็นไม่ตรงกับบริษัท Miro Corporation ในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักและเจ้าของเครื่องหมาย
การค้า Mambo เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 2005
Joomla นั้นถูกออกแบบเวอร์ชั่น มาอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ
* Joomla 1.0.xxx เป็นเวอร์ชั่นที่ถูกพัฒนาต่อมาจาก Mambo 4.5.x โดยแยกตัวออกมาทำเป็นเวอร์ชั่นของ Joomla โดยรูปแบบ
การใช้งานยังคล้ายคลึงกับ Mambo 4.5.x อยู่* Joomla 1.5.xxx เป็นเวอร์ชั่นที่ถูกพัฒนาแตกต่าง ออกไปจาก Joomla
เวอร์ชั่น 1.0.xxx อย่างสิ้งเชิงทั้งเมนูการใช้งานรวมถึงขั้นตอนการติดตั้ง และโครงสร้างการทำงาน จากการทดสอบ ในการ
โหลดหน้าเว็บไซต์ Joomla 1.5.xxx สามารถทำงานได้เร็วกว่า Joomla 1.0.xxx
Content Management System: CMS คืออะไร?
Content Management System หรือ CMS ถ้าแปลตามตัว Content = เนื้อหา,บทความ Management=การจัดการ System
=ระบบ เพราะฉะนั้นจะได้ความหายตามตัวคือ ระบบบริหารการจัดการเนื้อหา แต่ที่จริงแล้ว CMS นี้ถูกนำมาใ ช้ เรียกงานทาง
ด้านเว็บไซต์ซะส่วนใ หญ่ เ ขาจึงเรียกระบบนี้ว่าเป็นระบบบริการการจัดการเว็บไซต์ โดยที่ระบบนี้ นั้นนควาหมาย จะรวมไปถึง
การจัดการข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร รูปภาพ ไฟล์งานต่างๆด้วย แล้วแต่ผู้ใช้งานจะเลือกหรือกำหนดความ
ต้องการของตัวเอง
Joomla เหมาะกับเว็บไซต์แบบไหนบ้าง?
ว่าไปแล้ว Joomla นั้นเราสามารถนำมาประยุกต์ทำเว็บไซต์ได้ทุกรูปแบบ ตัวอย่างเช่น
* Corporate Web sites or portals
* Corporate intranets and extranets
* Online magazines, newspapers, and publications
* E-commerce and online reservations
* Government applications
* Small business Web sites
* Non-profit and organizational Web sites
* Community-based portals
* School and church Web sites
* Personal or family homepages
*********************************************************************************************
Joomla คือระบบที่ช่วยในการจัดการเนื้อหา(Content Management System: CMS) บนเว็บไซต์ เพื่อช่วยในการอำนวยความ
สะดวกลดขั้นตอน และความยุ่งยากในการบริหารจัดการเว็บไซต์ โดยที่ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรม
หรือออกแบบเว็บไซต์ ก็สามารถจัดทำเว็บไซต์ด้วยตัวเองได้
โอเพนซอร์สที่มีผู้ใช้จำนวนมาก Mambo เคยชนะการประกวดซอฟต์แวร์ของนิตยสาร Linux Format ในปี 2004 และ
LinuxWorld เมื่อปี 2005 Mambo เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถมากมาย เช่น ปฏิทิน, RSS, เว็บล็อก ปัจจุบันมีกลุ่มนักพัฒนา
จำนวนมากสร้างโปรแกรมเสริมให้กับ Mambo การติดตั้ง Mambo จำเป็นต้องใช้ Apache HTTP Server, MySQL และ PHP เดิม
Mambo พัฒนาโดยบริษัท Miro Corporation ประเทศออสเตรเลีย แต่ภายหลัง Miro ได้ตั้ง Mambo Foundation ขึ้นมารับ
หน้าที่แทน ใช้สัญญาอนุญาตการใช้งานแบบ GPL หลังจากการเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนามาอยู่ใต้ Mambo Foundation
นักพัฒนาเดิมส่วนหนึ่งได้แยกไปตั้งโครงการใหม่ชื่อว่า Joomla
จูมลา! (Joomla!) เป็นระบบจัดการเนื้อหาเว็บแบบโอเพนซอร์ส ที่เขียนด้วยภาษาพีเอชพีและใช้ฐานข้อมูล MySQL
เวอร์ชัน 1.0 ออกเมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2005
ทีมงาน พัฒนาจูมลา! แยกตัวออกมาจากการพัฒนา Mambo ซึ่งเป็นระบบจัดการเนื้อหาเว็บที่ได้รับความนิยมอีกตัวหนึ่ง
เนื่องจากมีความคิดเห็นไม่ตรงกับบริษัท Miro Corporation ในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักและเจ้าของเครื่องหมาย
การค้า Mambo เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 2005
* Joomla 1.0.xxx เป็นเวอร์ชั่นที่ถูกพัฒนาต่อมาจาก Mambo 4.5.x โดยแยกตัวออกมาทำเป็นเวอร์ชั่นของ Joomla โดยรูปแบบ
การใช้งานยังคล้ายคลึงกับ Mambo 4.5.x อยู่* Joomla 1.5.xxx เป็นเวอร์ชั่นที่ถูกพัฒนาแตกต่าง ออกไปจาก Joomla
เวอร์ชั่น 1.0.xxx อย่างสิ้งเชิงทั้งเมนูการใช้งานรวมถึงขั้นตอนการติดตั้ง และโครงสร้างการทำงาน จากการทดสอบ ในการ
โหลดหน้าเว็บไซต์ Joomla 1.5.xxx สามารถทำงานได้เร็วกว่า Joomla 1.0.xxx
Content Management System: CMS คืออะไร?
Content Management System หรือ CMS ถ้าแปลตามตัว Content = เนื้อหา,บทความ Management=การจัดการ System
=ระบบ เพราะฉะนั้นจะได้ความหายตามตัวคือ ระบบบริหารการจัดการเนื้อหา แต่ที่จริงแล้ว CMS นี้ถูกนำมาใ ช้ เรียกงานทาง
ด้านเว็บไซต์ซะส่วนใ หญ่ เ ขาจึงเรียกระบบนี้ว่าเป็นระบบบริการการจัดการเว็บไซต์ โดยที่ระบบนี้ นั้นนควาหมาย จะรวมไปถึง
การจัดการข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร รูปภาพ ไฟล์งานต่างๆด้วย แล้วแต่ผู้ใช้งานจะเลือกหรือกำหนดความ
ต้องการของตัวเอง
Joomla เหมาะกับเว็บไซต์แบบไหนบ้าง?
ว่าไปแล้ว Joomla นั้นเราสามารถนำมาประยุกต์ทำเว็บไซต์ได้ทุกรูปแบบ ตัวอย่างเช่น
* Corporate Web sites or portals
* Corporate intranets and extranets
* Online magazines, newspapers, and publications
* E-commerce and online reservations
* Government applications
* Small business Web sites
* Non-profit and organizational Web sites
* Community-based portals
* School and church Web sites
* Personal or family homepages
คุณสมบัติของ Joomla
ฟังก์ชั่นการค้นหาแบบใหม่
ซึ่งค้นหาได้รวดเร็วกว่าเดิม โดยการค้นหาในช่อง “Search” นี้จะสามารถแสดงคำค้นหาที่ต้องการจะสืบค้นออกมาแสดงเป็นรายการได้อัตโนมัติโดยไม่จำเป็นต้องพิมพ์คำนั้นจนเต็มคำ สามารถพิมพ์คำขึ้นต้นของสิ่งที่จะค้นหาได้ จากนั้นระบบก็จะแสดงคำที่เกี่ยวข้องออกมาให้ทราบ ซึ่งฟังก์ชั่นนี้ต้องอาศัยการสร้าง Index เสียก่อนจึงจะสามารถใช้งานได้
รองรับฐานข้อมูลได้หลากหลาย
เดิมที Joomla จะรองรับกับฐานข้อมูลของ MySQL เท่านั้น หากจะเปลี่ยนไปใช้ฐานข้อมูลประเภทอื่นก็ต้องออกแรงงัดกันมากหน่อย และมันไม่ใช่เรื่องง่ายกับผู้ที่ดูแลระบบ Joomla เพราะการเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลนั้นเป็นเรื่องยากและซับซ้อน แต่ใน Joomla 2.5 นี้จะสามารถรองรับการใช้งานฐานข้อมูลของ Microsoft SQL Server, PostgreSQL, Oracle, SQLite ได้ด้วย
แจ้งเตือนการอัพเดต
Joomla นั้นมีทั้งการอัพเดตของตัว Core Joomla เอง แล้วก็ยังมีในส่วนของ Extension อีกด้วย ยิ่งถ้าเราติดตั้งส่วนเสริมต่าง ๆ ลงไปมากเท่าไหร่ เวลาจะอัพเดตแต่ละทีก็ต้องมาคอยติดตามว่า Extension แต่ละตัวนั้นมีการอัพเดตเวอร์ชั่นออกมาใหม่หรือยัง คราวนี้ Joomla จะสามารถช่วยแบ่งเบาภาระไปได้ขึ้นเยอะ เพราะสามารถตรวจสอบการอัพเดต Joomla และ Extension ไปได้พร้อมกัน อีกทั้งยังสามารถเลือกทั้งจะอัพเดตจากเมนูดังกล่าวได้เลยอีกด้วย
ปรับปรุงโครงสร้างฐานข้อมูล
เป็นส่วนที่สำคัญมากหลังจากมีการอัพเดตในส่วนต่าง ๆ ซึ่งปกติแล้วการอัพเดตเวอร์ชั่นใหม่นั้นจะใช้วิธีการอัพโหลดไฟล์ทับลงไป หรือใช้ Extension ในการช่วยอัพโหลด และอัพเดตไฟล์ใหม่ ๆ แต่โครงสร้างฐานข้อมูลนั้นยังคงเดิมอยู่และไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลง และถึงแม้เราอยากจะเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเองมันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าไหร่ ดังนั้นฟิเจอร์นี้ก็เข้ามาช่วยงานให้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้นเมื่อมีการอัพเดตไฟล์ใหม่ก็ควรจะมากดปุ่ม Fix ตรงนี้ด้วยเพื่ออัพเดตและปรับเปลี่ยนโครงสร้างฐานข้อมูลให้ถูกต้อง แต่ถ้าหากคุณใช้ฟิเจอร์ในการอัพเดตที่ติดมากับ Joomla 2.5 แล้ว เมนู Fix นี้คุณไม่จำเป็นต้องทำก็ได้
ป้องกันสแปมด้วย Captcha
ที่ติดมาด้วยกับ Joomla 2.5 เลยโดยไม่ต้องติดตั้ง Extension เสริมเข้าไปอีก ซึ่ง Captcha ที่ใช้งานนั้นก็เป็นของ reCaptcha เพียงแค่สั่งเปิดการใช้งานที่ Users Configuration
และระบุ Key ในส่วนของ Pluging ที่ถูกเปิดใช้งานรอไว้แล้ว
ซึ่ง Public Key และ Private Key ก็ได้มาจากการลงทะเบียนกับ reCaptcha (บทความในเว็บนี้ก็มีสอนนะ), เมื่อเปิดใช้งาน Captcha แล้วก็จะเป็นการป้องกันระบบสแปมในส่วนของการลงทะเบียนเบื้องต้น แต่นอกจากนี้มันยังสามารถทำงานร่วมกับ Extension อื่น ๆ ได้อีกด้วย เพียงแต่ขอให้ Extension นั้นมีเมนูการเปิดใช้งาน reCaptcha ได้ก็เป็นพอ
ลิ้งจากเมนูไปยังโมดูล
การเพิ่มเติมในส่วนนี้สำหรับผู้ดูแลระบบที่ใช้งานกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันก็คงจะสบายขึ้น เพราะหากมีการสร้างกลุ่มเมนูใหม่ ๆ หลายกลุ่มเมนูนั้นจะต้องปวดหัวกันมากเลยทีเดียวกับการที่จะแก้ไข Menu Module ที่ถูกกำกับอยู่, ซึ่งเดิมที Joomla 1.5 นั้นจะแสดงเพียงแค่จำนวนของ Module ที่ถูกกำกับอยู่เท่านั้น
แต่ใน Joomla 2.5 ได้เพิ่มลิ้งค์ให้ผู้ดูแลระบบเข้าไปด้วย ซึ่งสามารถคลิกลิ้งค์ดังกล่าวเพื่อไปยังโมดูลที่เกี่ยวข้องกันได้ทันที
ซึ่งลิ้งค์ที่ปรากฏดังกล่าวก็สามารถช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถสร้าง Menu Module ได้ง่ายขึ้นหลังจากสร้างกลุ่มเมนูขึ้นมาแล้วได้อีกด้วย จะได้ไม่ต้องไปงมหาให้เสียเวลาอีก
แทรกรูปภาพประกอบบทความ
โอ้โห่ นี่สิแจ๋ว เหมือนเจออะไรแปลกใหม่ คุณรู้ไหมว่ามันเป็นปัญหาเหมือนกันสำหรับการแทรกรูปภาพสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ประกอบหน้าบทความอย่างที่ได้เคยนำเสนอไปแล้ว ว่าจะต้องจัดเรียงบทความอย่างไรให้ดูดี การแทรกรูปเล็ก ๆ นี่แหล่ะทำให้มือใหม่หัดใช้ Editor สร้างบทความกันทั้งวันแต่กลับมาเสียเวลากับการจัดเรียงสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างนี้, แต่ด้วยการใช้งานที่เพิ่มขึ้นมาใน Joomla 2.5 นี้ สามารถแทรกรูปในส่วนของ Intro Text และ Full Text ได้ง่ายขึ้นมาก ไม่ต้องมาคอยซ่อน Intro อีกต่อไป ดังนั้นใครเคยใช้เทคนิคดังกล่าวอยู่ก็ได้เวลาทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้นอีกแล้ว
ปฏิเสธการรับอีเมลแจ้งเตือน
เมื่อมีสมาชิกลงทะเบียนผ่านทางหน้าเว็บไซต์ทุกครั้งก็จะมีอีเมลส่งไปหาผู้ดูแลระบบ ยิ่งเว็บไซต์ที่มีสมาชิกมาลงทะเบียนเป็นจำนวนมาก ก็จะมีอีเมลที่มีข้อความซ้ำ ๆ กันแจ้งไปยังผู้ดูแลระบบทุกครั้ง, ฟิเจอร์ที่เพิ่มมานี้ก็เปิดทางเลือกให้ผู้ดูแลระบบสามารถเลือกที่จะปิดการรับอีเมลดังกล่าวได้
Note ในเมนูเตือนความจำ
ใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์นะ หลายคนเคยรับจ้างทำเว็บไซต์ให้กับลูกค้าหลายราย ยิ่งเว็บไซต์ที่มีเนื้อหามาก ๆ แล้วล่ะก็การสร้างเมนูลิ้งค์ก็ยิ่งมากตามไปด้วยจนบางครั้งจำไม่ได้เลยว่าเมนูอันนี้ไว้ทำอะไร ลิ้งค์ไปไหน หรือบางเมนูเป็นเมนูสำคัญสร้างแล้วห้ามลบ คราวนี้ก็สามารถเขียนบันทึกไว้ใน Note เพื่อเตือนสติได้ดีทีเดียว
ควบคุม Tag ใน Editor
ฟิเจอร์นี้ใช้เวลาทำความเข้าใจกับมันอยู่เกือบชั่วโมง สำหรับฟิเจอร์นี้มีไว้สำหรับให้ผู้ดูแลระบบสามารถจำกัดการใช้ Tag ต่าง ๆ ภายใน Editor หลังจากมีการ Save ได้ เช่น หากต้องการให้สมาชิกในบาง Group ไม่สามารถแทรก Tag B หมายถึงตัวหนา ลงไปภายใน Editor หลังจากมีการ Save Article นั้นลงไปในฐานข้อมูล Tab B ก็จะถูกลบออกไปจากข้อความนั้นทันที ซึ่งสามารถอนุญาตให้แต่ละ Group สามารถใช้ Tag หรือไม่สามารถใช้ Tag ใด ๆ ก็ได้ จะเรียกว่าใช้ไม่ได้ก็คงไม่ถูกซะทีเดียว เพราะเมื่อ Submit Article จะสามารถเลือกใช้งาน หรือพิมพ์ Tag นั้น ๆ ได้อยู่เป็นปกติ แต่หลังจาก Save Article นั้นแล้ว Tag ที่ผู้ดูแลระบบกำหนดไว้ จะถูกลบออกไปทันที ฟิเจอร์นี้ต้องมีขยาย เอาไว้จะมาร่ายให้อ่านกันเต็ม ๆ ภายหลัง
อิสระในการเลือกดูบทความ
Joomla 2.5 สามารถเลือกดูบทความจากการ Filter ได้อิสระมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการจัดหมวดหมู่ของ Article นั้นจะไม่ได้แบ่งเป็น Section และ Category อีกต่อไป แต่จะกลายเป็นการซ้อนกันได้หลาย ๆ ชั้นของ Category ดังนั้นเมื่อมีการซ้อนกันก็จะต้องมีระดับความลึกของ Category ที่ถูกซ้อน หรือเรียกว่า Subcategory ซึ่งฟิเจอร์นี้ก็สามารถ Filter ดู Category และสามารถระบุระดับความลึกของลำดับชั้นในการซ้อนของ Category ได้อีกด้วย
แก้ข้อความทับเป็นเรื่องง่าย
ไฟล์ภาษาของ Joomla จะอยู่ที่ไดเร็คทอรี่ /language ซึ่งมีนามสกุลเป็น .ini โดยปกติหากต้องการแก้ไขข้อความใด ๆ ที่ปรากฏขึ้นบนหน้าเว็บไซต์ ก็จะต้องไปแก้ไขที่ไฟล์ ini และกว่าจะหาข้อความที่ต้องการแก้ไขจนเจอก็เสียเวลานาน, ดังนั้นฟิเจอร์นี้จะช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถค้นหาข้อความที่ต้องการแก้ไขได้รวดเร็วและง่ายดายขึ้นมาก
เขียนบันทึกไว้ที่ผู้ใช้งาน
สามารถเขียน Note บันทึกไว้สำหรับผู้ใช้งานได้ โดยอาจเป็นการบันทึกเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งาน, การเตือนความจำของผู้ดูแลระบบเอง หรือบันทึกจิปาถะก็แล้วแต่อยากจะใส่ไป สามารถบันทึก Note ได้หลาย Note ให้กับสมาชิกคนเดียวก็ได้ และสามารถเรียกดูย้อนหลังได้อีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีฟิเจอร์อื่น ๆ อีกมากมายเลยทีเดียว คงนำมาเสนอไม่หมดในบทความนี้ แต่ที่กล่าวมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่น่าสนใจและนำมาให้ชมยั่วน้ำลายกันก่อน สำหรับการใช้งานแต่ละฟิเจอร์แบบเต็มบทความนั้นจะมาเขียนให้อ่านกันภายลังแน่นอน รับรองว่าได้กดเล่นกันมือหงิก
ดาวน์โหลด โปรแกรมได้ที่
http://www.joomlacorner.com/